จากข้อมูลของ National Institutes of Health Heart, Lung Blood Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการศึกษา การใช้เครื่องทำออกซิเจนกับคนที่ป่วยเป็นโรคนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจตอนนอน ไว้ได้อย่างน่าสนใจมาก ๆ เราลองมาดูกันเลยค่ะว่า ผู้เชี่ยวชาญค้นพบอะไร และเราควรใช้เครื่องทำออกซิเจนไหม
เนื้อหา
1 งานวิจัยของ HeartBEAT ในวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine
2 ผลที่ได้จากการทดลอง
3 สรุป เครื่องทำออกซิเจนแบบพกพา สามารถรักษาโรคหยุดหายใจตอนนอนได้จริงหรือไม่
งานวิจัยของ HeartBEAT ในวารสารการแพทย์ New England Journal of Medicine
คนที่ป่วยเป็นโรคหยุดหายใจตอนนอน หรือ OSA ที่ไม่ได้รับการรักษา จะมีภาวะ hypoxemia ซึ่งเป็นภาวะที่หายใจลำบาก หรือหยุดหายใจหลายร้อยครั้งต่อคืน เพราะร่างกายขาดออกซิเจน จากการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน นักวิจัยจึงทดลองด้วยการเพิ่มออกซิเจนให้กับคนที่ป่วยเป็นภาวะหยุดหายใจตอนนอน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1 กลุ่มที่ใช้เครื่องทำออกซิเจนตอนนอนเพียงอย่างเดียว ไม่มีเครื่อง CPAP
2 กลุ่มที่ใช้เครื่อง CPAP อย่างเดียว โดยไม่มีตัวทำออกซิเจน
เพื่อทดสอบว่า กลุ่มไหน จะได้รับการตอบสนอง หรือได้รับผลการรักษาได้ดีกว่ากัน
ผลที่ได้จากการทดลอง
ผู้ป่วย ทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ มีทั้งหมด 318 คน และป่วยเป็นโรคหยุดหายใจตอนนอน ชนิดอุดกั้นแบบปานกลาง-รุนแรง ผลที่ได้พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม เกิดภาวะ hypoxemia น้อยลงในระดับเดียวกัน ในขณะที่ความดันโลหิตของกลุ่มที่ใช้ CPAP จะปรับตัวได้ดีกว่า คนที่ใช้แค่เครื่องทำออกซิเจนเพียงอย่างเดียว นั่นเลยทำให้กลุ่มที่ใช้ CPAP ได้รับการป้องกัน หรือลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจด้วย
นอกจากนี้ ทั้งสองกลุ่ม มีความรู้สึกง่วงนอนตอนกลางวันน้อยลง และไม่มีการเผลอหลับ หลับใน หรืองีบหลับใด ๆ ในตอนกลางวัน ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาวพชีวิตนะคะ
สรุป เครื่องทำออกซิเจนแบบพกพา สามารถรักษาโรคหยุดหายใจตอนนอนได้จริงหรือไม่
โดยรวมแล้ว การใช้เครื่องทำออกซิเจนเพียงอย่างดียว ได้ผลน้อยกว่าการใช้เครื่อง CPAP และไม่ได้ช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ทางที่ดีคือ ควรใช้ทั้งเครื่องทำ CPAP และ เครื่องทำออกซิเจนควบคู่กัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ได้ผลมากที่สุด นั่นเองค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3578679/