เสียงกรน หลายคนคิดว่ามันจะเกิดขึ้นกับคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือวันไหนที่ทำงานเหนื่อยก็จะหลับและนอนกรน แต่ป่าวเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง ผู้ชายที่น้ำหนักตัวปกติ หรือเด็กก็สามารถนอนกรนได้เช่นกัน เพราะเสียงกรนนั่นเกิดจาก ขณะที่คุณหลับมีอาการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่ หรือเพดานอ่อนที่แรงกว่าปกติ และมีอาการหย่อยลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจ ทำให้อากาศเข้าไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ไม่เต็มที่ และอาจจะเกิดปัญหาการหยุดหายใจขณะที่นอนหลับได้ เรียกว่า OSA (Obstructive Sleep Apnea)
เนื้อหา
1. อาการของภาวการณ์หยุดหายใจขณะนอนหลับ
2. เช็คร่างการขณะนอนหลับ
3. การทำ Sleep Lab
4. การเตรียมร่างกายก่อนทำ Sleep Lab
5. สรุปภาวการณ์หายใจขณะนอนหลับ
6. สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่โรงพยาบาล
อาการของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
อาการต่างๆที่บ่งบอกว่าเราเริ่มเข้าสู่ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
- นอนกรนเสียงดัง
- มีอาการสะดุ้งตื่นจากอาการนอนกรน และลุกขึ้นมาหายใจแรงๆ
- ระหว่างวันมีอาการง่วงตลอดเวลา ไม่มีสมาธิทำงานทั้งๆที่นอนมาตลอดทั้งคืนแล้ว
- ร่างกายเหนื่อยง่าย ไม่สบายบ่อย
เช็คร่างกายขณะนอนหลับ
เราสามารถเช็คอาการเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง โดยการตั้งกล้องขณะที่หลับหรืออัดเสียงตอนนอน หรือไม่ก็ลองถามคนข้างๆที่นอนกับเราว่าเรามีอาการนี้ไหม หรือถ้ามีคู่คุณก็ควรจะรีบจูงมือกันไปหาหมอทันที เพราะนี่เป็นตัวบ่งชี้อันตรายที่จะเกิดขึ้นมนอนาคต
การทำ Sleep Lab
การนอนกรน ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ และไม่ต้องอายหรือคิดว่ามันไม่ใช่โรคร้ายและไม่มีโรงพยาบาลไหนรับรักษา เพราะตอนนี้แต่ละโรงพยาบาลก็มีแพทย์ที่รับคำปรึกษา และรักษาอาการนอนกรน ซึ่งเรียกว่าเราตรวจแบบ Sleep Lab การตรวจแบบนี้จะเป็นการตรวจภาวการณ์หายใจของเราขณะที่นอนหลับ ตรวจออกซิเจนที่จะไปเลี้ยงสมอง ตรวจคลื่นสมองและหัวใจว่ามีความผิดปกติมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้นำมาวิเคราะห์และรักษาตามอากา
การเตรียมร่างกายก่อนทำ Sleep Lab
การตรวจวิธี Sleep Lab เราต้องเตรียมร่างกายให้พร้อมในการนอนหลับ และห้ามรับประทานหรือดื่มเครื่องดื่มต่างๆที่มีผลต่อการนอนหลับ เช่น แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และงดทำกิจกรรมหนักๆระหว่างวัน เพื่อที่จะให้ร่างกายพร้อมที่จะนอนในภาวะที่ปกติที่สุด การทำการตรวจวิธีนี้ คุณหมอจะให้เรานอนโรงพยาบาล และทำการติดเครื่องมือวัดตามร่างกายของเรา และให้เรานอนหลับในท่าที่สบายทั้งคืน ซึ่งการทำวิธีนี้ไม่ได้น่ากลัวหรือเจ็บปวดอะไร
สรุป ภาวะโรงหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ใครก็ตามที่คิดว่าตัวเองมีความเสี่ยง หรือคนข่างๆมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะที่นอนหลับ ก็ควรที่จะรีบไปปรึกษาแพทย์ หรือสอบถามข้อมูลต่างๆได้โดยตรงที่โรงพยาบาลศิริราช เพื่อทำการรักษาและป้องกันไม่ให้รุกราม และอาจมีโรคต่างๆตามมาง่ายกว่าคนปกติ หรืออาจถึงขั้นหยุดหายใจขณะที่นอนหลับ
สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ และแผนที่โรงพยาบาล
2 ถนน วังหลัง แขวง ศิริราช เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
เบอร์โทรศัพท์ : 02-419-7000
ขอขอบคุณที่มาจาก
โรงพยาบาลศิริราช