จากผลการวิจัยเรื่อง Effects of one-week tongue-task training on sleep apnea severity: A pilot study หรือผลของการศึกษาการออกกำลังกายลิ้นต่อระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจตอนนอน จาก US National Library of MedicineNational Institutes of Health ที่ทำการศึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนที่หยุดหายใจตอนนอน ชนิดอุดกั้น แบบไม่รุนแรง 1 สัปดาห์ ว่ามีผล การเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน ความน่าสนใจมาก ๆ และให้คำตอบเราได้ชัดเจนว่า แค่ออกกำลังกายลิ้น 7 วัน มันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ขนาดไหน
เนื้อหา
1 งานวิจัย one-week tongue-task training รักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอนใน 7 วัน จากการออกกำลังกายลิ้น
2 วิธีฝึกออกกำลังกายลิ้น tongue-task training (TTT)
3 สรุป ออกกำลังกายลิ้น 7 วันต่อเนื่อง เห็นผลชัด ลดภาวะหยุดหายใจตอนนอน ได้จริงหรือไม่
งานวิจัย one-week tongue-task training รักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอนใน 7 วัน จากการออกกำลังกายลิ้น
การหยุดหายใจตอนนอนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และส่งผลให้เกิดโรคร้ายอย่างโรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา โดยการอุดกั้นของอวัยวะในช่องคอ และทางเดินหายใจส่วนบนที่เกิดขึ้น มันเป็นกล้ามเนื้อที่เราเข้าไปควบคุมตรง ๆ ได้ยาก แต่เราสามารถเข้าไปเสริมให้มันแข็งแรง และไม่หย่อนยานได้ จึงเป็นที่มาของแนวคิดการออกกำลังกายกล้ามเนื้อลิ้น ที่ทีมวิจัยคิดขึ้นมา โดยใช้คำว่า tongue-task training (TTT)
วิธีฝึกออกกำลังกายลิ้น tongue-task training (TTT)
Tongue-task training (TTT) คือ การออกกำลังกายลิ้น ที่เน้นการสร้างแรงกดดันให้ลิ้น โดยทุก ๆ 10 วินาทีจะต้องกดลิ้นเกร็งค้างไว้ 1.5 วินาที ต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง
นักวิจัยก็จะขอให้ผู้ป่วย กดลิ้นไว้บริเวณเพดานแข็งหลังฟันบน ถ้าเราเอาลิ้นไปแตะ ๆ เพดานที่อยู่หลังฟันบน เราก็จะรู้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่มีความแข็งอยู่พอสมควร แต่ตอนทดลองจริง ใน 10 วินาที แบ่งเป็นช่วงที่กด 2 วินาที อีก 8 วินี ปล่อยลิ้นตามปกติสบาย ๆ แต่กระบวนการนี้ ต้องทำต่อเนื่อง จนครบ 720 วินาที
สรุป ออกกำลังกายลิ้น 7 วันต่อเนื่อง เห็นผลชัด ลดภาวะหยุดหายใจตอนนอน ได้จริงหรือไม่
ผลที่ได้จากการทดลอง tongue-task training (TTT) พบว่า หลังจากที่ผู้ป่วยออกกำลังกายแบบนี้ไปจนครบ 7 วัน ก็ได้ผลที่น่าพอในมาก ความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจระดับปานกลางกลายเป็นระดับอ่อน และใน 1 สัปดาห์นี้ช่วยลดการอุดกั้นของการหยุดหายใจตอนอนได้ถึง 48% ในช่วงที่เข้าสู่การนอนหลับแบบ REM sleep แถมงานวิจัยนี้ ก็ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งประเทศแคนาดา (Canadian Institutes of Health Research) อีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4470553/