ปกติแล้วเรื่องของการนอนกรนแบบที่นอนกรนอย่างเดียวไม่มีอาการสะดุ้งตื่นเราคงพบกันอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ คนสั้น หรือคอใหญ่ อาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น และคนผอมจะกรนน้อยกว่าคนอ้วน เป็นเรื่องปกติของผู้ชายที่มีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้านอนกรนแล้วมีอาการสะดุ้งตื่นร่วมด้วย เช่น หลับไม่ลึก ฝันบ่อย ละเมอบ่อย สะดุ้งตอนกล่งคืน อาการเหล่านี้อาจบ่งบอกถึงคุณมีอาการของโรคขณะนอนหลับ หรือมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจระหว่างที่นอนหลับ ทำให้หายใจยากขึ้นเวลานอน มีเสียงกรนดัง ร่างกายจะตื่นบ่อยเวลากลางคืน และง่วงเวลากลางวัน โรคนี้ทำให้เสี่ยงต่อภาวะเส้นเลือดอุดตันในสมอง 10 เท่าของคนทั่วไป โรคนี้ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไปเลยทีเดียว
อาการเหล่านี้เองเป็นอาการที่บ่งบอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ.. แล้วจะทำอย่างไรถ้าเราสงสัยและกังวลว่าเราเป็นโรคนี้หรือเปล่า ?
การตรวจการนอนหลับ ช่วยได้..
การที่จะดูว่าเรามีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการตรวจการนอนหลับ ซึ่งในคนปกติจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับไม่เกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมง แต่ในคนที่เป็นโรคจะมีอาการหยุดหายใจขณะหลับมากกว่า 5 ครั้งต่อชั่วโมง อาจจะมีอาการเตะขาเวลานอน หรือระดับออกซิเจนในเลือดลดลงตอนนอน ซึ่งเราสามารถทราบได้จากการตรวจการนอนหลับ ว่าเรามีพฤติกรรมเป็นอย่างไรในตอนนอน และการตรวจนี้จะสามารถดูได้หลายปัจจัยว่าเราเป็นจากสาเหตุอะไร และควรรับการรักษาอย่างไร
แล้วโรคนี้รักษาได้ไหม ?
คำตอบคือ รักษาได้ สามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องช่วยหายใจเวลานอน จะช่วยให้เราได้รับออกซิเจนเพียงพอในตอนนอน การรักษาวิธีนี้เป็นการใช้เครื่องเป่าลมเป่าผ่านหน้ากาก เป่าอากาศเข้าไปทำให้ท่อลมเปิดทำให้การนอนกรนหายไป ในบางกรณีเท่านั้นที่จะต้องทำการผ่าตัดคือคนที่ช่องคอแคบมากๆ ต่อมทอนซิลโต ลิ้นไก่โต การผ่าตัดไม่นิยมในวัยผู้ใหญ่เพราะสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งเรื่องอ้วน คอสั้น ขากรรไกร โครงหน้า ซึ่งไม่สามารถผ่าตัดได้ แต่สามารถใส่เครื่องช่วยหายใจได้และเป็นวิธีที่เหมาะสมมากกว่าการผ่าตัด
แล้วเราควรปรึกษาแพทย์เมื่อใด ?
ผู้ชายเราคงไม่ต้องพูดถึงมาก ส่วนผู้หญิงเองก็มีอาการเยอะขึ้นหลังจากประจำเดือนหมด และโรคนี้ก็จะพบมากขึ้นในวัยหมดประจำเดือนหรืออายุ 50กว่าไปแล้ว สามารถพบแพทย์ได้หากรู้สึกกังวลหรือสังเกตว่าตัวเองมีอาการเข้าข่าย
ในเด็กก็มีอาการอาจจะพบได้ว่าในช่วงกลางวันเด็กมีอาการง่วงไป ซุกซนอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ ต้องดูพฤติกรรมหลายอย่างในครอบครัว ต้องดูสาเหตุว่าเด็ก สมาธิไม่ดี การเรียนแย่ลงนั้นมาควบคู่กับอาการนอนกรนหรือไม่ การตื่นตัวของเด็กเปลี่ยนแปลงไป ต้องตรวจในเด็กเพื่อรับการรักษา การรักษาในเด็กจะแตกต่างกับผู้ใหญ่ เด็กจะมาอาการทอนซิลโตเป็นสาเหตุหลักๆ ร่วมกับมีช่องคอที่แคบ อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ รักษาได้โดยการผ่าตัดหรือวินิจฉัยเป็นกรณีไปค่ะ
การวินิจฉัย
ผู้รับการรักษาจะต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล 1 คืน ควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และพยายามให้การนอนเสมือนจริงและปกติที่สุด หากนอนปกติไม่ได้อาจจะต้องให้ยาเพื่อให้การนอนหลับดีขึ้น หลังจากได้ข้อมูลมาทางแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะวิเคราะห์และหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
คนที่มาปรึกษาแพทย์ส่วนใหญ่ คือคนที่นอนมากไป หรือนอนน้อยไป
“นอนมากไป” นอนไม่อิ่ม กลางวันนอนต่อ เดินทางไกลๆแล้วง่วง นอนมากเกินไป นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ
“นอนน้อยไป” นอนหลับยาก หรือนอนแล้วกรน มีตื่นกลางดึกหลายครั้ง ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน สะดุ้งบ่อย ตื่นบ่อยในตอนกลางคืน
สรุปว่า นอนกรน อันตรายจริงหรือไม่?
การนอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจ ถือว่า “อันตราย” อย่างมาก ไม่ควรทิ้งไว้นะคะ เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมาเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น โรคความดันโลหิตสูง อัมพาต อัมพฤกษ์ โรคหัวใจ ความจำเสื่อม ความดันสูง แม้แต่กระทั้ง Sex เสื่อมอีกด้วย หากสงสัยว่าตัวเองกำลังเป็นอยู่หรือไม่ ลองเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทดสอบการนอนหลับกันนะคะ
ขอขอบคุณที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=vFrTKlZRVCI โดย นพ. เกษียรสม วีรานุวัตติ์ อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาท