เครื่อง CPAP (Continuous Airway Pressure) เป็นอุปกรณ์สำหรับสำหรับการรักษาโรคหยุดหายใจตอนนอน แม้ว่ามันจะมีประโยชน์มาก และได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา แต่มันก็ไม่ได้เหมาะกับการใช้ ตอนที่ร่างกายเราไม่ปกติเลยนะคะ ถ้าเราฝืนใช้ตอนที่ร่างกายไม่โอเค ผลที่ได้ มันจะเป็นผลเสีย มากกว่าผลดี วันนี้เรามาดูกันค่ะว่า ถ้าเรามีอาการแบบนี้ เราควรหยุดใช้เครื่อง CPAP ชั่วคราวไปก่อน
เนื้อหา
1 ข้อห้ามสำคัญ เกี่ยวกับการใช้ CPAP ถ้ามีอาการแบบนี้ ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
2 ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และวิธีแก้ไข
3 สรุป ข้อห้ามของการใช้เครื่อง CPAP ใครมีอาการแบบนี้ ต้องหยุดใช้ด่วน
ข้อห้ามสำคัญ เกี่ยวกับการใช้ CPAP ถ้ามีอาการแบบนี้ ห้ามใช้โดยเด็ดขาด
นี่คือข้อห้ามสำคัญที่ NCBI ได้รวบรวมไว้ และย้ำเตือนว่า ใครก็ตามที่มีอาการนี้ และป่วยเป็นโรคหยุดหายใจตอนนอนด้วย ต้องหยุดใช้ไปก่อน จนกว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้น
1. คนที่มีอัตราการหายใจ หรือ ระบบทางเดินหายไม่ค่อยเสถียร จากข้อมูลของ London Health Sciences Centre บอกว่าคนที่มีอัตราการหายใจต่ำกว่า 8 ครั้งต่อนาที ไม่ควรใช้เครื่อง CPAP
2. คนที่ได้รับการบาดเจ็บจากแผลไหม้ที่ใบหน้า ห้ามใช้ CPAP เพราะ การใช้ CPAP จะต้องใส่หน้ากาก และสายรัดหน้ากาก จะกดทับแผล ทำให้ผู้ป่วย มีอาการบาดเจ็บ หรืออาจจะเกิดแผลกดทับได้มากขึ้น
3. คนที่เพิ่งเข้ารับการผ่าตัด หลอดอาหาร หรือ กระเพาะอาหาร
4. คนที่เป็นโรค pneumothorax หรือภาวะลมรั่วในช่องปอด
5. คนที่รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง
6. คนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างเช่น โรคหอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
7. คนที่มีความดันโลหิต ต่ำกว่า 90 mmHg
ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และวิธีแก้ไข
ถ้าใครไม่ได้มีอาการข้างต้น ก็อาจจะเจอผลข้างเคียงจากการใช้เครื่องได้ นั่นคือ จมูกแห้ง ปากแห้ง รอยช้ำบนใบหน้า ที่เกิดจากสายรัดหน้ากาก CPAP วิธีการแก้ไขคือ ให้เลือกหน้ากาก CPAP เป็นแบบ Full คือครอบทั้งจมูกและปากไปด้วยเลย แล้วก็ใช้เครื่องทำความชื้นเข้ามาช่วย และก่อนจะใช้เครื่อง ให้กินน้ำเปล่าก่อน 1 แก้ว
สรุป ข้อห้ามของการใช้เครื่อง CPAP ใครมีอาการแบบนี้ ต้องหยุดใช้ด่วน
แม้ว่า CPAP จะมีประโยชน์มากในการรักษาโรคนอนกรนและภาวะหยุดหายใจตอนนอน แต่ว่ามันก็ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน และบางครั้ง เราก็ต้องหยุดใช้ ถ้าเรามีอาการตามที่บอกมาข้างต้น ไม่อย่างงั้น ผลข้างเคียง แทรกซ้อนจะเกิดขึ้นตามมาจนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้เลยนะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK482178/