คุณเคยตรวจสุขภาพการนอนของคุณไหม? ระหว่างที่นอนหลับคุณอาจจะไม่รู้ตัวว่าร่างกายทำอะไรบ้าง การนอนหลับของคุณเป็นอย่างไร แต่คุณรู้หรือไม่การนอนสามารถบอกปัญหาสุขภาพที่ร่างกายกำลังเผชิญได้ เช่น การนอนกรนสามารถบอกถึงโรค ภาวการณ์หยุดหายใจขณะนอนหลับ เรียนกว่า OSA(Obstructive Sleep Apnea)
เนื้อหา
1. เสียงกรนเกิดจากอะไร
2. อาการของโรคภาวะดารหยุดหายใจขณะหลับ
3. การรักษาโดยวิธี Sleep Lab
4. ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
5. สถานที่ติดต่อเข้ารับการรักษา
6. โรงพยาบาลรามคำแหง เบอร์โทรติดต่อ และแผนที่โรงพยาบาล
เสียงกรนเกิดจากอะไร
เสียงกรน เกิดขึ้นจาก เวลาที่คุณหายใจเอาอากาศเข้าไปขณะหลับนั้น ช่องทางเดินหายใจส่วนต้นตีบแคบลง ทำให้เกิดเสียงดัง คล้ายๆเวลาที่เราดูดน้ำในแก้ว แล้วดูดไม่ขึ้น การที่ทางเดินหายใจแคบลง ส่งผลให้ออกซิเจนจากภายนอกไม่สามารถเข้าไปสู่ร่างกายได้ตามปกติ ทำให้ร่างกายของเราขาดออกซิเจน ขั้นต่ำเกิน 10 วินาที หรือถ้านานกว่านั่น ร่างกายจะสั่งตัวเองให้สะดุ้งตื่นขึ้นมากายใจแรงๆ เพื่อรับออกซิเจนเข้าไปใหม่ แล้วคุณลองจินตนาการดูว่าถ้าเราเกิดภาวะหยุดหลายใจขณะนอนหลับเป็นเวลานานแล้วร่างกายไม่ได้สะดุ้งตื่นมันจะเป็นอย่างไร?
อาการของโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
อาการขั้นต้นของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ที่คุณสามรถตรวจดูได้เอง
นอนกรนตอนกลางคืน
สะดุ้งตื่น ลุกขึ้นมาหายใจแรงๆ เหมือนคนขาดอากาศหายใจ
ร่างกายอ่อนเพลียในเวลากลางวัน
รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา
หายคุณเริ่มมีอาการเหล่านี้ ก็ควรจะไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้รับการรักษาตามอาการ
การรักษาโดยวิธี Sleep Lab
การรักษาโรคนี้จะใช้วิธีการตรวจรักษาที่เรียนว่า Sleep Lab จะเป็นการตรวจภาวการณ์นอนหลับ วิธีการนี้จะตรวจ
ระบบหายใจขณะนอนหลับ
ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
ตรวจคลื่นหัวใจ
ตรวจวัดออกซิเจนที่เข้าไปสู่ร่างกาย
ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อขณะที่หลับ
เพื่อที่จะมาเช็คว่าคุณมีภาวะความเสี่ยงระดับไหน จะได้รักษาตามอาการ
ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
โดยแพทย์จะให้คุณเตรียมตัวโดยการ นอนหลับที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 1 คืนและทำการติดเครื่องวัดต่างๆตามตัวคุณเพื่อตรวจเช็ค และแพทย์จะขอให้คุณงดเครื่องดื่มที่มาสารกระตุ้นการทำงานของระบบปราสาท เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มมึนเมา รวมถึงยานอนหลับ เพื่อที่จะทำการตรวจสภาวะการนอนที่ปกติที่สุด
สถานที่ติดต่อเข้ารับการรักษา
ถึงแม้โรคภาวะหยุดหายใจขณะที่หลับ จะเป็นโรคที่ไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยนัก แต่มันเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คุณคิด แค่เสียงคุณก็สามารถเช็คได้แล้ว ดังนั่นใครที่คิดว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือคนรอบข้างมีความเสี่ยง ก็สามารถสอบถามข้อมูลหรือขอรับคำปรึกษาได้โดยตรงที่โรงพยาบาลรามคำแหง ที่นั่นจะมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่อยให้คำปรึกษา
โรงพยาบาลรามคำแหง เบอร์โทรติดต่อ และแผนที่โรงพยาบาล
โรงพยาบาลรามคำแหง จำกัด (มหาชน) 436 ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพ 10240
Tel. 0-2743-9999 , 0-2374-0200-16
Fax : 0 2374 0804
E- mail : contact@ram-hosp.co.th
ขอขอบคุณที่มาจาก
โรงพยาบาลรามคำแหง