เสียงกรน?… แล้วไงแล้วมันทำไมกับแค่เสียงกรน ใครๆก็กรนได้เวลานอน… ใช่ค่ะใครๆก็กรนได้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า เสียงกรนที่หลายคนคิดว่ามันเป็นเสียงธรรมดาไม่ได้อันตรายหรือสำคัญอะไร แต่คุณรู้ไหมค่ะ เสียงกรนตอนนอนของเราบ่งบอกว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะหยุดหายใจขณะที่หลับ
เนื้อหา
1.เสียงกรนเกิดจากอะไร
2.อาการของโรค OSA
3.การสังเกตอาการของภาวะโรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น
4.วิธีการรักษา Sleep Lab
5.การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
6.สรุปอันตรายจากการนอนกรน
7.สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่
เสียงกรนเกิดจากอะไร
การกรนคือการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ในระหว่างที่หลับ สาเหตุเกิดจาก การปิดกั้นของทางเดินหายใจ เป็นเสลานานอย่างน้อง 10วินาทีขึ้นไป และเกิดขึ้นบ่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ โดยบางรายที่มีอาการขั้นรุนแรง จะมีอาการขาดอากาศหายใจมากถึง 100ครั้งต่อชั่วโมงเลยทีเดียว ซึ่งอาการเหล่านี้เรียกว่า โรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (OSA : Obstructive Sleep Apnea)
อาการของโรค OSA
อาการนอนกรนเล่านี้มันไม่ได้หายไปเอง บางรายยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น จนกลายเป็นอาการเรื้อรัง และจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคการเต้นของหัวใจผิดปกติ โรคความดันสูง สมรรถภาพร่างกายเสื่อมลง เป็นต้น
การสังเกตอาการของภาวะโรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น
วิธีการสังเกตว่าเข้าข่ายโรคหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (OSA) หรือไม่นั้น ทำได้โดย ตั้งกล้องบันทึกวีดีโอ หรือบันทึกเสียงขณะที่หลับ ว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
● นอนกรนเสียงดัง
● มีอาการสะดุ้งตื่นลุกขึ้นมาหายใจแรงๆ เหมือนคนขาดอากาศหายใจ
● ตอนกลางวันจะมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา หงุดหงิดง่ายขึ้น
หากคุณมีอาการเหล่านี้คุณควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้จนรุกรามและเรื้อรัง
วิธีการรักษา Sleep Lab
การรักษาปัจจุบันนี้จะใช้วิธีการรักษาวิธี Sleep Lab ซึ่งวิธีนี้จะใช้ตรวจ
● วัดการหายใจขณะที่นอนหลับ
● วัดปริมาณออกซิเจที่จะเข้าไปในร่างกาย
● ตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง
● ตรวจคลื่นหัวใจ
● ตรวจวัดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่ และถ้าผิดปกติ ระดับความรุนแรงขนาดไหนจะได้นำมาวิเคราะห์และรักษาตามอาการ
การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
คุณหมอจะให้เตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab โดยการงดทำกิจกรรมที่หนักๆ เช่นออกกำลังกาย หรือรับประทานอาหาร เครื่องดื่มชนิดต่างๆที่ส่งผลต่อการนอนหลับ คุณหมอตรวจสุขภาพร่างกายในภาวะปกติ เพื่อค่าที่วัดได้จะได้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด
สรุปอันตรายจากการนอนกรน
เสียงกรนไม่ใช่สิ่งที่ควรจะมองข้ามอีกต่อไป หากพบว่าคุณหรือคนใกล้ตัวมีความเสี่ยง แนะนำให้ไปพบแพทย์ หรือสามารถสอบถามหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลเปาโล อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะสิ่งเล็กน้อยที่คุณมองข้ามอาจจะสายเกินแก้ในอนาคต
สถานที่ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่
670/1 ถนน พหลโยธิน แขวง สามเสนใน เขต พญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
02-279-7000
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลเปาโล