คุณเคยสงสัยไหมว่า “เสียงกรน” เกิดจากอะไร ทำไมบ้างคนถึงนอนกรน บ้างคนถึงนอนไม่กรน? วันนี้เราจะมาไชปริศนา “เสียงกรน” กันว่ามันเกิดขึ้นจากอะไร และมันจะมีผลอะไรกับร่างกายเราหรือไม่
เนื้อหา
1.เสียงกรนเกิดจากอะไร
2.OSA : Obstrutive Sleep Apnea
3.อาการของ OSA
4.การทำ Sleep Lab
5.การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
6.โรงพยาบาลที่รับการรักษา
เสียงกรนเกิดจากอะไร
เสียงกรน เกิดจาก กล้ามเนื้อคอคลายตัวขณะหลับจนทำให้ช่องทางเดินหายใจแคบลง ซึ่งจะทำให้ต้องหายใจเข้าออกแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อช่องทางเดินหายใจแคบลงจนถึงจุดหนึ่ง จะทำให้ความแรงของระบบทางเดินหายใจที่เพิ่มยิ่งเพิ่มมากขึ้นจนเกิดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเป็นเสียงกรนตามมา นอกจากนี้การกรนยังเกิดจากหายสาเหตุ เช่น การปิดกั้นของช่องทางเดินหายใจ คือ ลิ้น ลิ้นไก่ หย่อนลงมาปิดช่องทางเดินหายใจ หรืออาจเกิดจากสารหล่อลื่นในระบบทางเดินหายใจลดลง ทำให้เกิดอาการแห้ง บวม ทางเดินหายใจแคบลง รวมทั้งเสียงกรนแต่ละครั้ง ยังพบภาวการณ์หยุดหายใจร่วมด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะที่หลับ เรียกว่า OSA : Obstrutive Sleep Apnea
OSA : Obstrutive Sleep Apnea
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ OSA เกิดจากช่องทางเดินหายใจแคบ และตีบลง บวกกับลิ้นไก่ หย่อนลงมาปิด ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่ หรือบางร่าบออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปได้ ส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน สมองจะสั่งร่างกายให้ตื่นอัตโนมัติ และลุกขึ้นมาหายใจแรงๆและไอ เหมือนคนที่กำลังจะจมน้ำแล้วขาดอากาศหายใจ ในแต่ละคืนบางรายอาจจะเกิดขึ้นครั้งเดียว แต่บางรายที่มีอาการรุนแรงก็จะเกิดอาการนี้หลายครั้งได้ ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะไม่สดชื่น และจะมีอาการง่วงนอนระหว่างวัน ขากสมาธิในการทำงาน ความจำสั่นลง หงุดหงิดง่าย เรื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
อาการของ OSA
“เสียงกรน” จึงไม่ใช่สิ่งที่ควรมองข้ามอีกต่อไป หายใครที่รู้ตัวว่านอนกรน หรือมีคนใกล้ตัวที่นอนกรน ควรจะรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้ หายไม่แน่ใจว่าเรามีภาวะเสี่ยงหรือไมนั่น เราก็สามารถขอเข้ารับการตรวจได้ โดยทางแพทย์จะทำการตรวจที่เรียกว่า Sleep Lab
การทำ Sleep Lab
การทำ Sleep Lab เป็นการตรวจระบบภายในร่างกายขณะที่หลับ โดยแพทย์จะทำการติดเครื่องมือตรวจวัดขณะที่เรานอนหลับ แล้วเอาผลที่ได้มาอ่านค่า วิธีการนี้จะรู้ได้ว่า ระบบการหายใจขณะที่เราหลับเป็นอย่างไร ตรวจสอบออกซิเจนที่เข้าไปในร่างกาย ตรวจวัดคลื่นสมองและหัวใจขณะนอนหลับว่าผิดปกติไหม หรือถ้าผิดปกติค่าความรุนแรงที่ได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้รักษาตามอาการ
การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
ก่อนที่จะทำการตรวจโดยวิธี Sleep Lab คุณควรจะงดทำกิจกรรมที่หนักๆ หรือออกกำลัง เพราะจะมีผลต่อการวัดค่าขณะนอนหลับ รวมถึงงดเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีสารกระตุ้นระบบประสาทในการนอนหลับ เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มมึนเมาต่างๆ เพราะจะส่งผลให้ค่าที่ได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง
โรงพยาบาลที่รับการรักษา
“เสียงกรน” เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย หากใครกรน ไม่ต้องอายที่จะเดินไปขอรับคำปรึกษา อย่าปล่อยทิ้งไว้จนรุกราม และมีผลกระทบต่อร่างกายในภายหลัง โดยทางโรงพยาบาล นนทเวช มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางเดินที่ค่อยให้คำปรึกษาและรักษาโรคนี้โดยตรง สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่
โรงพยาบาลนนทเวช 432 ถนน งามวงศ์วาน ตำบล บางเขน อำเภอเมือง นนทบุรี 11000
โทร: 02-596-7888
แผนที่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
โรงพยาบาลนนทเวช