อาการหลับๆ ตื่นๆ มักเกิดจากการที่คนเรานอนหลับแล้วร่างกายตื่นตัวขึ้นมาเป็นระยะๆ ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายด้านส่งผลให้มีปฏิกิริยาดังกล่าว เมื่อมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ ย่อมทำให้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้อ่อนเพลียไปตลอดทั้งวัน สมองมึนงง การทำงานของสมองและส่วนอื่นๆ ของร่างกายเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งอาการเช่นนี้ล้วนมีเหตุปัจจัยในการเกิดด้วยกันหลายด้าน เราลองไปดูกันว่ามีสาเหตุหรือปัจจัยใดที่ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับหรือหลับๆ ตื่นๆ บ้าง
เนื้อหา
- ปัจจัยใดที่ทำให้นอนไม่หลับ หรือมีอาการหลับๆ ตื่นๆ
- จริงหรือ? หยุดหายใจขณะหลับ ทำให้เกิดอาการหลับๆ ตื่นๆ จนนอนไม่พอได้
- วิธีรับมือรักษา ทำได้อย่างไร?
ปัจจัยใดที่ทำให้นอนไม่หลับ หรือมีอาการหลับๆ ตื่นๆ
อาการนอนไม่หลับหรืออาการหลับๆ ตื่นๆ มักมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวด้วยกันหลายอย่าง ซึ่งเราก็มีมาแนะนำด้วยกันดังนี้แล้วค่ะ
1.ความเครียด ความวิตกกังวล
แน่นอนว่าความเครียดและความวิตกกังวล ย่อมเป็นตัวการทำให้นอนไม่หลับ และเมื่อหลับไปแล้วก็จะรู้สึกสะดุ้งตื่นมากลางดึกบ่อยๆ เมื่อตื่นขึ้นมา บางคนก็อาจจะนอนหลับต่อยาก เนื่องจากสภาวะจิตใจหมกมุ่นอยู่ในความเครียดตลอดเวลา จึงทำให้นอนหลับต่อยาก หรือหลับๆ ตื่นๆ อยู่ทั้งคืน
2.มีพฤติกรรมการกินแบบผิดๆ
กินอาหารมื้อดึกหรือกินอาหารก่อนนอนมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารย่อยยาก หรืออาหารรสจัด ซึ่งอาหารย่อยยาก ได้แก่ เนื้อสัตว์ต่างๆ อย่างเช่นเนื้อหมู เนื้อวัว และอาหารที่มีไขมันสูง อาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการจุกเสียดแน่น ย่อยยาก ระบบย่อยอาหารต้องใช้ระยะเวลานานในการย่อย ทำให้นอนไม่หลับหรือหลับๆ ตื่นๆ ง่าย เนื่องจากรู้สึกอึดอัดไม่สบายท้องนั่นเอง และการกินอาหารรสจัดก็เช่นเดียวกัน เพราะความจัดจ้านของรสชาติอาหารย่อมทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนท้องได้
3.ดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน
เนื่องจากการดื่มแอลกอฮฮล์จะทำให้จังหวะหัวใจเต้นเร็วและเต้นแรงในขณะที่เรานอนหลับ ส่งผลทำให้ร่างกายกระตุกและตื่นตัวง่าย จึงทำให้เกิดภาวะหลับๆ ตื่นๆ และทำให้นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ในบางรายที่มีอาการนอนกรนก็จะยิ่งทำให้อาการดังกล่าวหนักขึ้น ส่งผลทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับรุนแรงกว่าเดิมได้
4.เกิดกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนเกิดจากอาหารที่รับประทานเข้าไปไหลย้อนขึ้นมายังหลอดอาหาร ส่งผลทำให้รู้สึกเจ็บแสบบริเวณทรวงอกหรือมีอาการเรอเปรี้ยว โดยกรดไหลย้อนนี้ก็ส่งผลทำให้นอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ ได้เช่นเดียวกัน
5.ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับมักเกิดขึ้นในผู้ที่นอนกรนเป็นประจำ ซึ่งผู้ที่นอนกรนส่วนมากมักจะเกิดภาวะดังกล่าวขึ้นและส่งผลกระทบหลายอย่างตามมาในขณะนอนหลับ เช่น มีเหงื่อออกมามากในขณะนอนหลับ สะดุ้งตื่นกลางดึกเพราะหายใจไม่ออกหรือเกิดการสำลัก ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้นอนหลับๆ ตื่นๆ หรือนอนพักผ่อนได้อย่างไม่เต็มอิ่มนั่นเอง
จริงหรือ? หยุดหายใจขณะหลับ ทำให้เกิดอาการหลับๆ ตื่นๆ จนนอนไม่พอได้
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจะทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นเพื่อให้สามารถหายใจได้สะดวก และเมื่อเกิดภาวะหยุดหายใจเป็นเวลานานหรือถี่ ย่อมก่อให้เกิดอาการสำลักอากาศและสะดุ้งตื่นขึ้นมาบ่อยๆ ซึ่งเมื่อตื่นขึ้นแล้ว ก็อาจทำให้นอนต่อไม่สนิทในบางราย อาจจะมีอาการหลับๆ ตื่นๆ ร่วมด้วยได้เช่นเดียวกัน
วิธีรับมือรักษา ทำได้อย่างไร?
การรักษาอาการหลับๆ ตื่นๆ จนทำให้ร่างกายนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียตลอดวันจนกระทั่งสะสมกลายเป็นอาการเรื้อรังในเวลาต่อมานั้น หากในกรณีผู้ที่ร่างกายอ่อนเพลียอันเกิดจากการนอนไม่เพียงพอ ด้วยปัจจัยที่ว่าเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือแม้กระทั่งในผู้ที่นอนกรนบ่อยๆ จนก่อให้เกิดภาวะดังกล่าวตามมา ทางแก้คือ เราควรรักษาที่ต้นเหตุ โดยรับมือแก้ไขกับอาการนอนกรนเพื่อป้องกันภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั่นเอง ซึ่งสามารถเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษา แพทย์จะวินิจฉัยและให้การรักษาไปตามระดับความรุนแรงของโรค โดยอาจจะให้ผู้ป่วยเข้ารับการทดสอบ (Sleep test) เพื่อตรวจสอบว่าคุณมีอาการในระดับรุนแรงมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงพิจารณาให้การรักษาในแนวทางอื่นๆ ต่อไปตามความเหมาะสม
และนี่ก็คือ อาการหลับๆ ตื่นๆ อันเกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากการนอนกรน ดังนั้น การนอนกรนบ่อยๆ และยิ่งกรนเสียงดังจนเกิดเป็นปัญหาหลักของสุขภาพย่อมไม่เป็นผลดีแน่ เพราะจะทำให้ร่างกายเกิดผลกระทบต่างๆ ตามมากมาย แน่นอนว่าจะทำให้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรังในระยะยาวได้ และก่อให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา ดังนั้น ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาหรือหาวิธีรับมือโดยด่วน ก่อนที่อาการจะบานปลายหนักขึ้น
ขอบคุณที่มา
http://www.si.mahidol.ac.th/Th/department/psychiatrics/dept_article_detail.asp?a_id=815
การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ รับมือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ตัวการนอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ ตลอดเวลา
โรคหลับไม่ตื่น | โรคนอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ การรักษา |
อาการหยุดหายใจชั่วขณะ | พิชิต ภาวะ หยุด หายใจ ขณะ หลับ |
หยุดหายใจขณะหลับ pantip | โรคลมหลับ |
ตื่นกลางดึก เวลาเดิม | อาการนอนกรน snoring และ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ obstructive sleep apnea ตอนที่ 2 |