จากงานวิจัยเรื่อง The correlation of anxiety and depression with obstructive sleep apnea syndrome โดยคณะแพทย์ระบบประสาท และการนอนหลับ ได้ค้นพบหลังจากที่ศึกษาผู้ป่วยจำนวน 178 คนที่มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ หรือ Obstructive sleep apnea syndrome (OSAS) ว่า มีความสมัพันธ์ระหว่างภาวะหยุดหายใจตอนนอนกับการวิตกกังวล 53.9% และมีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า 46.1%
เนื้อหา
1 นอนกรน กับภาวะหยุดหายใจตอนนอน
2 ทำไมถึงซึมเศร้า ถ้าหยุดหายใจตอนนอน?
3 เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ?
4 วิธีการรักษา ถ้าหยุดหายใจตอนนนอน
5 สรุปนอนกรน เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โดยไม่รู้ตัวได้จริงหรือไม่?
นอนกรน กับภาวะหยุดหายใจตอนนอน
การนอนกรน และหยุดหายใจเป็นพัก ๆ ในระหว่างหลับ (Sleep Apnea) เป็นภาวะที่คนที่เป็น มักจะไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองเป็น และเข้าใจว่า การนอนกรนเป็นเรื่องปกติ แต่รู้ไหมคะว่า สาเหตุที่ทำให้หยุดหายใจตอนนอน มันเกิดจากความผิดปกติของอวัยวะบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนของเรา
ทำไมถึงซึมเศร้า ถ้าหยุดหายใจตอนนอน?
เมื่อเราหยุดหายใจตอนนอน เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายก็จะได้รับออกซิเจนลง และนี่คือตัวที่ไปกระตุ้นความเครียดในสมอง ตอนที่เราหลับแบบไม่รู้ตัวเลย และความเครียดนี้ เป็นต้นตอที่ทำให้เรารู้สึก เมื่อมันสะสมนาน ๆ เข้า ก็กลายเป็นโรคซึมเศร้าไปเลย
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เรามีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea : OSA) เกิดจากการที่เนื้อเยื่อคอหรือลิ้นหย่อนลงไปปิดทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ทางเดินหายใจตีบจนกระทั่งปิดสนิท พอร่างกายไม่สามารถนำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ สมองก็จะขาดออกซิเจนแล้วจะทำให้เราตื่นขึ้นใน รูปแบบการหายใจแรง หรือสะดุ้งแล้วรู้สึกเหมือนสำลัก
เราควรไปหาหมอ ถ้าตอนกลางคืน เรามีอาการสะดุ้งเฮือก หรือหายใจแรงเหมือนขาดอากาศ นอนหลับไม่ต่อเนื่อง และตอนกลางวัน เรารู้สึกง่วงทั้งวัน ปวดหัวตอนเช้า สมาธิแย่ลง ความจำก็แย่ลง
วิธีการรักษา ถ้าหยุดหายใจตอนนนอน
หลังจากที่ไปหาหมอแล้ว หมอจะแนะนำให้ปรับพฤติกรรม อย่างการลดน้ำหนัก ถ้าเราอ้วน ปรับท่านอน นอกจากนี้ก็มีเครื่อง CPAP ที่ช่วยลดการนอนกรน และรักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอนได้
สรุปนอนกรน เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โดยไม่รู้ตัวได้จริงหรือไม่?
การนอนกรน ที่มีภาวะหยุดหายใจตอนนอน ทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้โดยที่ไม่รู้ตัว เพราะตอนที่เราหยุดหายใจ ออกซิเจนก็เข้าไปในเลือด ปอด และสมองน้อยลง ทำให้เราเป็นคนหงุดหงิดง่าย โดยไม่มีสาเหตุ รู้สึกว่าร่างกายไม่สดชื่น คุณภาพชีวิตแย่ลงหลาย ๆ ด้าน ก็เลยส่งผลให้เรารู้สึกแย่ เพราะความเครียดที่เกิดขึ้นในร่างกาย และการขาดออกซิเจน ทางที่ดีควรไปหาหมอ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษา สำรหับคนที่นอนกรนมาก ๆ และหยุดหายใจบ่อย อาจจะใช้เครื่อง CPAP หรือ เครื่อง BiPAP เข้ามาช่วยรักษาอาการได้ค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24949026