จากผลการวิจัยล่าสุดของ European Lung Foundation (ELF) ที่เผยแพร่ใน European Respiratory Journal ค้นพบว่า ภาวะหยุดหายใจชั่วคราวขณะหลับ หรือ Obstructive sleep apnea (OSA) ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองได้
เนื้อหา
1 งานของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
2 การทดลองกับผู้ป่วยที่มีปัญหาสภาวะอารมณ์
3 ออกซิเจนในร่างกายต่ำนอนตอน เกิดจากอะไร แล้วมีอาการอย่างไร?
4 แล้วเราจะรักษาได้อย่างไร?
5 สรุป เราอาจเป็นโรคซึมเศร้า โดยที่ไม่รู้ตัว ได้จริงหรือไม่?
งานของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย
งานวิจัยนี้นำทีมโดยศาสตราจารย์ Sharon Naismith ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย บอกว่าคนที่มีภาวะหยุดหายใจตอนนอนเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้มากถึง 30-50% จากการที่ผู้ป่วยเองอาจจะมีความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า มีการสูบบุหรี่ น้ำหนักเกิดร่วมด้วย
การทดลองกับผู้ป่วยที่มีปัญหาสภาวะอารมณ์
จากการทดลองกับผู้ป่วย 83 คน ที่มีปัญหาเรื่องภาวะอารมณ์ แต่ยังไม่เคยลองตรวจดูว่า ตัวเองมีภาวะหยุดหายใจตอนนอน (OSA) ด้วยหรือไม่ โดยผู้ที่เข้าร่วมแต่ละคนจะถูกประเมินทักษะความจำ และอาการซึมเศร้า จากการสแกน MRI และผลที่ได้ก็พวว่า ผู้ป่วยที่มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำตอนหลับ จะมีความหนาของกลีบสมองทั้งซีกซ้ายและขวางน้อยลง ซึ่งมันส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
ที่มา: The Trivedi Effect – ภาพ Effects of Sleep Apnea Management
ออกซิเจนในร่างกายต่ำนอนตอน เกิดจากอะไร แล้วมีอาการอย่างไร?
เมื่อปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง ทางเดินหายใจก็ถูกอุดกั้น นี่แหละคือสาเหตุที่ร่างกายต้องใช้พลังในการหายใจค่อนข้างมาก แล้วเวลานอนก็จะกระสับกระส่าย ตื่นนอนบ่อย ส่งผลให้การนอนหลับในตอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ หรือนอนไม่พอนั่นเอง
แล้วเราจะรักษาได้อย่างไร?
การรักษามีหลายแบบ ตั้งแต่การดูแลตัวเองอย่างการออกกำลังกายลดความอ้วน ใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ CPAP หรือ เครื่อง BiPAP และสิ่งที่ควรทำมากที่สุด คือ การไปหาหมอเพื่อตรวจดูว่าสาหตุที่แท้จริงของการหยุดหายใจตอนนอนของเราเกิดจากอะไร แล้วเราเป็นในระดับรุนแรงขนาดไหน ถ้าเจอว่าสาเหตุเกิดจากการหย่อนหยานของลิ้น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ แบบมาก ๆ จนปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้อีกแล้ว ก็อาจจะถึงขั้นเข้ารับการผ่าตัด
สรุป เราอาจเป็นโรคซึมเศร้า โดยที่ไม่รู้ตัว ได้จริงหรือไม่?
เราอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้ อาจจะรู้สึกเศร้า ทั้ง ๆ ที่ไม่มีเรื่องให้เศร้า เพราะว่าร่างกายเราเกิดความผิดปกติ อย่างภาวะหยุดหายใจตอนนอนโดยที่เราไม่รู้ตัว ถ้าเรามีอาการที่ตรงกับที่เขียนไว้ข้างต้นหลายข้อ อันนี้ควรไปหาหมอนะคะ จะได้ตรวจดูสาเหตุที่แท้จริง และทำการรักษา เพราะถ้าปล่อยไว้นาน ๆ โครงสร้างในสมองและร่างกาย จะเสื่อมไปเรื่อย ๆ จนเป็นสาเหตุให้เราเกิดโรคร้ายเรื้อรังต่าง ๆ ตามมา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.news-medical.net/news/20180705/New-study-links-obstructive-sleep-apnea-with-changes-to-brain-structure-typical-of-dementia.aspx