หลายคนน่าจะเคยสงสัย ว่าเสียงกรนที่เราได้ยิน เป็นเรื่องปกติหรือไม่ สงสัยไป สงสัยมา ก็อาจจะเกิดคำถามที่ว่า การนอนกรน มันอันตรายหรือเปล่านะ แล้วถ้ามันอันตราย เราจะรับมือกับมันยังไงดี
เนื้อหา
1 การนอนกรน (Snoring) เกิดจากอะไร?
2 นอนกรนมีกี่แบบ?
3 นอนกรนชนิดที่แป็นอันตราย แบบที่หยุดหายใจตอนนอนร่วมด้วย จะรักษาได้ยังไง?
4 สรุป การนอนกรน อันตรายจริงหรือไม่
การนอนกรน (Snoring) เกิดจากอะไร?
คอลัมน์: ชีวิตและสุขภาพ: ‘นอนกรน‘ โดยน.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ ได้บอกเอาไว้ว่า กรน คือเสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่แ ละเพดานอ่อนขณะนอนหลับ เพราะตอนที่เราหลับสนิท เนื้อเยื่อต่าง ๆ ในช่องคอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ กับเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนมีก็คลายตัวมากไปจนมันย้อยลงมาอุดกั้น ทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก จนเกิดภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea)
นอนกรนมีกี่แบบ?
ความผิดปกติในการนอนกรนมี 2 แบบ คือ
1.ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (Simple Snoring)
กลุ่มจะกรนแบบเสียงสม่ำเสมอ และเป็นเฉพาะตอนนอนหงาย พอพลิกท่าเป็นนอนตะแคง เสียงกรนก็หายไปได้
2.ชนิดที่เป็นอันตราย (Snoring with obstructive sleep apnea)
กลุ่มนี้ จะมีการกรนแล้วสะดุ้งตื่นกลางดึง เหมือนสำลักน้ำ แล้วตื่นเช้ามาก็จะปวดหัว ไม่สดชื่น อ่อนเพลีย รู้สึกเหมือนนอนไม่พอ นอกจากนี้ยังมีอาการหลงลืม, ไม่มีสมาธิ, หงุดหงิดง่าย, ขี้โมโหรวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลง อีกด้วย เพราะว่าร่างกายเกิดภาวะหยุดหายใจตอนนอนนั่นเอง
นอนกรนชนิดที่แป็นอันตราย แบบที่หยุดหายใจตอนนอนร่วมด้วย จะรักษาได้ยังไง?
การรักษามีได้หลายวิธ๊ แต่สิ่งสำคัญก่อนรักษา คือ การรู้ว่า สาเหตุของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เกิดจากส่วนไหน อย่างไร และรุนแรงมากไหม โดยเราต้องไปหาหมอที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคนี้โดยตรง เพราะว่าสาเหตุของมันเกิดขึ้นได้หลายแบบ เช่น
• โรคที่มีความผิดปกติด้านฮอร์โมน อย่าง ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroid) โรคนี้ก็ทำให้เกิดทางเดินหายใจ อุดตันได้ง่ายกว่าคนทั่วไป
• โรคอ้วน มีไขมันส่วนเกินไปสะสมในช่วงคอเบียดช่องหายใจให้แคบลง
• อาการคัดจมูกเรื้อรัง เช่น มีผนังกั้นจมูกคด เยื่อบุจมูกอักเสบเรื้อรังจากโรคภูมิแพ้ หรือเนื้องอกในจมูก
• เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิงเนื่องจากอิทธิพลของฮอร์โมน เป็นต้น
ในกรณีที่เรามีภาวะหลุดหายใจอุดกั้น เพราะทางเดินหายใจส่วนบนตีบและแคบ ก็จะมีเครื่อง CPAP และ เครื่อง BiPAP ที่สามารถช่วยรักษาอาการนอนกรน และภาวะหลุดหายใจชั่วคราวขณะหลับได้
สรุป การนอนกรน อันตรายจริงหรือไม่
มีทั้งอันตราย และไม่อันตราย ขึ้นอยู่กับอาการที่เป็นอยู่ ถ้านอนกรนแล้วสะดุ้งตื่น หรือสำลักบ่อย นอนเท่าไหร่ก็นอนไม่พอ สมาธิสั้น หงุดหงิดแบบไม่มีสาเหตุ ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่เป็นการนอนกรน ชนิดที่เป็นอันตราย หรือเรียกว่า เกิดภาวะหยุดหายใจตอนนอนร่วมด้วย การรักษามีทั้งการปรับท่านอน ปรับพฤติกรรมการกิน ใช้เครื่อง CPAP หรือเครื่อง BiPAP ช่วยดันลมหายใจ ตอนที่ทางเดินหายใจตีบแคบ และที่สำคัญที่สุด ควรไปหาหมอ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง จะได้ทำการรักษาได้ตรงจุดมากขึ้น พราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน มันจะทำให้เราเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว เส้นเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน ได้นะคะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คอลัมน์: ชีวิตและสุขภาพ: ‘นอนกรน’ โดยน.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง