จากการให้คำแนะนำขององค์กร WebMD, LLC. ได้บอกไว้ว่า เราสามารถรักษาอาการนอนกรนได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง 7 วิธีด้วยกัน แต่จะมีวิธีอะไรนั้น เราตามมาดูกันเลยค่ะ
เนื้อหา
1 7 วิธีรักษานอนกรนตามแบบฉบับของ WebMD
2 ภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apena) คือ อะไร?
3 จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apena)?
4 วิธีการรักษานอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apnea) ร่วมด้วย
5 สรุป7 วิธี รักษานอนกรนแบบง่าย ๆ ได้ผลจริงหรือไม่
จากการให้คำแนะนำขององค์กร WebMD, LLC. ได้บอกไว้ว่า เราสามารถรักษาอาการนอนกรนได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง 7 วิธีด้วยกัน แต่จะมีวิธีอะไรนั้น เราตามมาดูกันเลยค่ะ
7 วิธีรักษานอนกรนตามแบบฉบับของ WebMD
1.เปลี่ยนท่านอน
ถ้าหากคุณนอนหงาย มันง่ายมากที่ลิ้นไก่ของคุณจะเอียงไปทางด้านหลังของลำคอ ซึ่งจะไปปิดกั้นทางเดินหายใจอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทางที่ดีที่สุดก็คือ การนอนตะแคง
2.ลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนัก อาจช่วยได้ในบางคน แต่ไม่ใช่ทุกคน จะสังเกตได้ว่า คนผอมบางคนก็ยังนอนกรน เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณเพิ่งจะมานอนกรนเมื่อน้ำหนักขึ้น การลดน้ำหนักก็อาจจะช่วยได้ คิดง่ายๆ ว่า ถ้าหากน้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้น มันจะไปบีบระบบทางเดินหายใจบริเวณลำคอของคุณอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะนอนกรนมากขึ้นนั่นเอง
3.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ทั้งนี้ เพราะแอลกอฮอล์จะส่งผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อบริเวณลำคอของคุณ การดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน 4-5 ชั่วโมง จึงทำให้การกรนของคุณรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม คนที่ไม่กรนก็อาจจะกรนได้ หากดื่มแอลกอฮอล์
4.พักผ่อนให้เพียงพอ
การมีนิสัยการนอนที่ผิดปกติ เป็นการทำร้ายร่างกายที่ไม่ต่างจากการดื่มแอลกอฮอล์ การทำงานอย่างหนักโดยไม่พักผ่อนจะทำให้ร่างกายของคุณอ่อนล้ามากเกินไป เมื่อหลับก็จะหลับลึก ลิ้นไก่ก็จะอ่อนล้า จนตกไปกีดขวางทางเดินลมหายใจได้เช่นกัน
5.ทำโพรงจมูกให้โล่ง
การทำให้จมูกโล่งจะช่วยให้ลมผ่านเข้าไปยังหลอดลมและปอดได้สะดวกมากขึ้น จะช่วยลดการกรนลงได้ ซึ่งการอาบน้ำอุ่นก่อนนอนก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้จมูกโล่ง
6.ทำความสะอาดห้องนอนและเปลี่ยนหมอน
สารก่อภูมิแพ้ในห้องนอนและหมอนของคุณอาจทำให้คุณนอนกรนได้ จึงควรทำความสะอาดห้อง เพดาน พัดลม และเปลี่ยนหมอน หลีกเลี่ยงการนำเอาสัตว์เลี้ยงเข้ามาในห้องนอน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะกรนให้ลดลง ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจซื้อหมอนราคาแพงที่มีการโฆษณาสรรพคุณว่าช่วยลดการกรน ควรพิจารณาให้ดีก่อนว่ามันเหมาะกับสรีระของศีรษะคุณ เพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เกิดประโยชน์และอาจทำให้คุณปวดคอเพิ่มเข้าไปอีก
7.อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ
จมูกและเพดานปากของคุณจะแห้งและเหนียวมากขึ้น เนื่องจากขณะหลับร่างกายของคุณจะขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงกรนได้
แต่ถ้าทำตามทั้ง 7 ข้อแล้วไม่หาย หรือไม่ดีขึ้นเลย นั่นแปลว่าเราเสี่ยงต่อการเป็นภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apena ) แล้วล่ะค่ะ
ภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apnea) คือ อะไร?
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า “Sleep apnea” เป็นอาการที่ใกล้ตัวเรา และน่ากลัวมากเลยคะ เพราะว่า อาการ Sleep apnea เกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ มันคือการที่ระบบทางเดินหายใจของเรา เกิดความผิดปกติ ในช่วงที่เราหลับ ซึ่งองค์กร Sleep Education ได้ให้คำนิยามว่า มันเป็นอาการที่ลมหายใจของเรา โดนขวาง หรือโดนบล๊อคปริมาณลมหายใจเอาไว้ จนอากาศเข้าที่ปอดได้น้อย เกิดการเสียดสีของช่องแคบที่ตีบตันบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน จนทำให้เรานอนกรนเสียงดัง (snore loudly) นั่นเองค่ะ
จะรู้ได้ยังไงว่าเรามีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apnea)?
เราจะอาการมีกรน สำลัก หรือมีเสียงแปลก ๆ ออกมาจากลำคอ ที่ประมาณ 5-30 ครั้งใน 1 ชั่วโมงค่ะ และกรนต่อเนื่องทั้งคืน ถ้าใครกรนผิดปกติแบบนี้ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจแล้วนะคะ เพราะคนที่ไม่ได้รับการรักษา จะเกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ตามมา งั้นมาเช็คดูว่าถ้ามีอาการแบบนี้บ้างไหม และถ้ามีหลายข้อ ก็ต้องเอะใจแล้วนะคะว่าเราเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่มีภาวะหยุดหายใจตอนนอน
• รู้สึกง่วง และเพลียตอนกลางวัน
• ประสิทธิภาพความคิด ความจำลดลง
• ลืมง่าย สมาธิสั้น
• ตอนกลางคืนก็หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือสะดุ้งตื่นบอ่ย
• นอนกรนเสียงดัง
• ปวดหัวในตอนเช้า
• ความต้องการทางเพศลดลง นกเขาไม่ขัน
วิธีการรักษานอนกรนที่มีภาวะหยุดหายใจชั่วขณะหลับ (Sleep Apnea) ร่วมด้วย
ใครที่นอนกรน แล้วไม่เคยไปตรวจเช็คอาการ ลองไปหาหมอ เพื่อรับการรักษา โดยเราต้องไปนอนในห้องปฏิบัติการ (Sleep laboratory) จากนั้นหมอก็จะติดเครื่องตรวจที่ตัวเรา แล้วเราก็หลับไปตามปกติเลยค่ะ ในห้องพักจะมีเจ้าหน้าที่ (sleep technician) ที่คอยดูแลเราอยู่ตลอดทั้นคืน และถ้าตรวจเจอว่าเราเป็นภาวะนี้จริง ๆ หมอจะแนะนำให้ใช้เครื่อง CPAP หรือ หรือ BiPAP ช่วย แล้วแต่ระดับความรุนแรงของภาวะที่เราเป็นค่ะ
สรุป7 วิธี รักษานอนกรนแบบง่าย ๆ ได้ผลจริงหรือไม่
ได้ผลจริงในกรณีที่เราแค่นอนกรนเฉย ๆ แต่ถ้าเรามีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย การทำตาม 7 วิธีนี้ ก็จะไม่ได้ผลค่ะ ทางที่ดีควรไปหาหมอ เพื่อตรวจเช็คว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เพราะถ้าเราหยุดหายใจตอนนอน แบบไม่รู้ตัวไปนาน ๆ มันจะทำให้เกิดนโรคร้ายแรงอื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามา เช่น โรคเบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว stroke ต้อหิน ฯลฯ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/easy-snoring-remedies#1
และ หนังสือพิมพ์บ้านเมือง