ใครเคยง่วงทั้งวันบ้างคะ ทั้ง ๆ ที่นอน 8 ชม. บางทีก็ 10 ชม. แล้วยิ่งต้องไปทำงาน หรือต้องขับรถ ก็ยังรู้สึกง่วงอยู่ดี มันเกิดอะไรขึ้น แล้วจะแก้ได้ยังไงบ้าง กับอาการที่ ง่วงนอนมากเกินไป
เนื้อหา
1 การง่วงตอนกลางวัน ภาษาอังกฤษ
2 แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า เราเป็นโรค EDS?
3 โรค EDS มีสาเหตุมาจากไหนกัน ทำไมอยู่ดี ๆ ก็เป็นได้?
4 วิธีแก้ไหมถ้าง่วงตอนทำงานอยู่ หรือง่วงตอนขับรถบ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงกลาววันแท้ ๆ
5 สรุป ถ้าง่วงนอนตอนทำงานหรือขับรถ อันตรายจริงไหม ?
การง่วงตอนกลางวัน ภาษาอังกฤษ
การง่วงในตอนกลางวัน มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า Excessive Daytime Sleepiness หรือเรียกย่อ ๆ ว่า EDS เชื่อไหมคะว่า มันเป็นโรคอย่างนึง คนที่เป็นโรคนี้ จะรู้สึกเหนื่อยล้าทั้งวัน ทั้ง ๆ ที่นอนตอนกลางคืนมาเยอะมากแล้วก็ตาม
แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า เราเป็นโรค EDS?
งั้นเรามาเช็คอาการกันเลย ว่าเราเข้าข่ายเป็นโรค EDS ไหม
• มีปัญหากับการตื่นตอนเช้า ลุกยาก ไม่อยากตื่น ตื่นแล้วอยากนอนต่อ ทั้ง ๆ ที่เข้านอนเร็ว และนอนมา 8 ชม.แล้ว
• รู้สึกง่วงตอนกลางวันบ่อยมาก เหมือนไม่มีแรงที่จะทำอะไร
• หลับตอนกลางวันเยอะ บางคนไม่ใช่แค่ง่วงอย่างเดียวนะคะ แต่ว่าสามารถนอนได้ทั้งวันทั้งคืน
• งีบหลับตอนกลางวัน 15 นาทีแล้ว ก็ไม่ได้ช่วยให้หายง่วงขึ้นมาเลย
• รู้สึกหงุดหงิดบ่อย ๆ อารมณ์เสียง่าย
• มีปัญหาเรื่องการโฟกัส หรือสมาธิ จากที่เมื่อก่อน ไม่เคยเป็น
• รู้สึกว่า ไม่ค่อยพอใจกับสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต
• ผลการเรียนแย่ลง หรือประสิทธิภาพการทำงานลดลง
ถ้าอ่านแล้ว เจอว่าตัวเองเป็นหลายข้อ รู้ไหมคะว่า คุณมีอาการของโรค EDS และเจ้าตัวโรคนี้ มันมีสาเหตุมาจากไหนกัน ทำไมอยู่ดี ๆ ก็เป็นได้?
อาการ EDS มีต้นตอมาจากเรื่องที่เราเอง ไม่รู้ตัวว่าเราเป็น แถมมันอันตรายต่อสุขภาพเรามาก นั่นก็คือ ภาวะการหยุดหายใจขณะหลับ จากการวิจัยพบว่าภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดตัน (Obstructive Sleep Apnea) เกิดขึ้นกับคนในอเมริกากว่า 20 ล้านคนเลยนะคะ และพวกเขาก็เจอปัญหาแบบที่เราเจอ บางทีมันก็ทำให้เรารู้สึกไม่ดีกับตัวเอง ว่าเราทำอะไรได้แย่ลง จนนำไปสู่โรคซึมเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว
มันมีวิธีแก้ไหมถ้าง่วงตอนทำงานอยู่ หรือง่วงตอนขับรถบ่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงกลาววันแท้ ๆ?
• ไปหาหมอเพื่อรับการรักษา เป็นทางแก้ที่ควรทำเป็นอันดับแรกนะคะ เพราะหากปล่อยไว้ แล้วไม่รักษา อาการมันจะบานปลาย และเป็นสาเหตุให้ร่างกายเรา เกิดโรคร้าย ที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ
• ออกกำลังกายจริงจัง 30 นาทีต่อวัน ถ้าทำได้ทุกวันก็ยิ่งดีค่ะ
• ใช้อุปกรณ์ช่วยลดการนอนกรน ถ้าเราเป็นคนนอนกรนนะคะ หลายครั้งเลยที่เรานอนกรน แล้วคิดว่าไม่เป็นไร จริง ๆ แล้ว การนอนกรน นอกจากจะขวางทางเดินหายใจแล้ว มันยังทำให้ลำคอเราอักเสบอีกด้วยค่ะ นี่ก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เราง่วงตอนกลางวัน เพราะร่างกายเรา ได้รับออกซิเจนน้อย
• เพิ่มแสงสว่างในที่ทำงาน จะช่วยแก้อาการง่วงได้พอสมควรเลยนะคะ
• ตอนหลับ ให้ปิดไฟให้หมด รวมถึงเสียงรบกวนต่าง ๆ ใครที่ติดนิสัยเปิดทีวีทิ้งไว้แล้วหลับ คราวนี้ต้องตั้งกติกากันใหม่ ว่าปิดทีวีก่อน หรือไม่ก็ตั้งเวลาปิดล่วงหน้าไว้ กันลืมค่ะ
• ถ้าเราทำงานกะกลางคืน ให้กินกาแฟแค่ช่วงแรก ๆ ของกะ ก็พอค่ะ แล้วหลังจากนั้น ให้งด เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว และนอนแบบมีคุณภาพมากขึ้น เมื่อหมดกะทำงานกลางคืน
สรุป ถ้าง่วงนอนตอนทำงานหรือขับรถ อันตรายจริงไหม ?
ถ้าเราคิดว่า เรานอนพอ เต็มอิ่มมาก ๆ ทดลองหาทางแก้เองทุกวิธีแล้ว กำลังกายก็ออกประจำแล้ว แต่มันก็ง่วงตอนทำงาน หรือง่วงตอนกลางวันมากอยู่ดี แบบนี้ต้องรีบเข้าไปตรวจเช็คเรื่องการนอนหลับ (Sleep Test) กับคุณหมอ เพื่อดูว่าเรามีความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน (sleep disorder) ในระดับรุนแรงมากแค่ไหน .. บางคนไม่เคยรู้ว่าตัวเองหยุดหายใจตอนนอนไป 200 ครั้งต่อคืนเลยนะคะ ซึ่งอันตรายมาก จนกระทั่งไปหาหมอเพื่อทำ Sleep Test นี่แหละ ถึงได้รู้ว่า ตัวเองป่วยขั้นรุนแรง และการหยุดหายใจตอนนอน มันคือสาหตุที่ทำให้เราง่วงนอนทั้งวัน นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เพราะออกซิเจนมันเข้าไปในร่างกายน้อย ถ้าตรวจแล้ว เจอว่าเป็นภาวะหยุดใจชั่วคราวขณะนอนหลับ ก็ต้องระวังโรคอื่น ๆ ที่อาจจะตามมาได้ง่าย และเร็วกว่าคนปกติ อย่างเช่นโรคหัวใจล้มเหลว โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองตีบ ไปจนถึงอาการทางจิต อย่างโรคซึมเศร้านั่นเองค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.alaskasleep.com/blog/sleep-disorders-causing-you-to-feel-tired-everyday
https://www.webmd.com/sleep-disorders/features/daytime-sleepiness-tips