การนอนกรนไม่ใช่เรื่องแปลก ที่ใคร ๆ ก็สามารถเป็นได้ แต่รู้ไหมคะว่า การนอนกรนไม่ได้ปลอดภัย หรือเป็นเรื่องปกติแบบที่หลาย ๆ คนคิดไว้เลย เพราะถ้าหากการนอนกรนของเรา มาพร้อมกับความรู้สึกง่วงนอนมากผิดปกติตอนนกลางวัน สะดุ้งตื่น และรู้สึกสำหรับในนอนกลางคืนแล้ว นั่นคือสิ่งที่กำลังเตือนว่า ร่างกายของเรา มีบางอย่างไม่ปกติ และกำลังรอการแก้ไข
เนื้อหา
1ดูแลตัวเองก่อนสายเกินไป
2 ความร้ายแรงของภาวะหยุดหายใจตอนนอน
3 การรักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอน
4 สรุป ใคร ๆ ก็นอนกรน จะรักษา ภาวะหยุดหายใจตอนหลับ ไปทำไม
ดูแลตัวเองก่อนสายเกินไป
ภาวะนอนกรน หยุดหายใจตอนนอน (Sleep Apnea) เป็นอาการที่ร่างกาย หยุดหายใจไปชั่วคราวตอนหลับ เกิน 5 ครั้งต่อชั่วโมง ครั้งละ 10 วินาทีขึ้น และตอนที่หยุดหายใจ ร่างกายก็จะขาดออกซิเจน และการขาดออกซิเจนนี้แหละค่ะ ที่ส่งผลให้เกิดการทำลายซลล์สมองขึ้น ทำให้ความดันสูงมากขึ้น ยิ่งสะสมนานวันเข้า มันจะไปทำร้ายหัวใจ ทำให้เรารู้สึกเครียดได้ง่าย อ่อนเพลีย จนท้ายที่สุดเกิดเป็นโรคซึมเศร้า แบบไม่รู้ตัว
ความร้ายแรงของภาวะหยุดหายใจตอนนอน
เราทุกคนนอนหลับทุกวัน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะหลับได้อย่างมีความสุข หรือหลับแบบมีคุณภาพ คนที่เป็นโรคนอนกรนหยุดหายใจขณะหลับ มีทางเดินหายใจส่วนต้นที่แคบจนปิดสนิทหรือเกือบสนิท ทำให้ไม่สามารถหายใจเอาอากาศผ่านไปสู่ปอดได้ จึงเกิดผลเสียตามมาหลายอย่าง ได้แก่
• หลับได้ไม่ลึก ทำให้ท่านรู้สึกง่วงนอนตอนกลางวัน
• ไม่มีสมาธิทำงาน อารมณ์ขึ้น ๆ ลงๆ
• มีปัญหาเรื่องไม่มีสมาธิในการทำงาน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย วิตกจริต หรือซึมเศร้า
• ตื่นนอนตอนเช้ามีปวดศีรษะ หรือคลื่นไส้
• ปัสสาวะบ่อยช่วงนอนหลับกลางคืน
• ความต้องการทางเพศลดลง ผู้ชายอาจมีปัญหาเรื่องสมรรถ ภาพทางเพศลดลง ส่วนผู้หญิงอาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
การรักษาภาวะหยุดหายใจตอนนอน
การรักษามีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคหรือภาวะ โดยหมอจะเป็นคนวินิจฉัยและบอกกับเราค่ะว่า ในกรณีแบบเรา ที่มีความรุนแรงแบบนี้ ควรรักษาด้วยวิธีอะไร ซึ่งโดยปกติแล้ว จะมีการรักษาหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ
วิธีการที่ 1 ใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก หรือ ซีแพ็พ (CPAP)
เพื่อขยายและถ่างทางเดินหายใจส่วนต้นไม่ให้ตีบแคบขณะนอนหลับ แต่ผลกระทบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก อาจก่อให้เกิดอาการคัดจมูก ปากแห้ง คอแห้ง
วิธีการที่ 2 การใส่ฟันยาง หรือ Oral Appliance ผู้ป่วยบางราย
ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีระดับโรคของเล็กน้อยและปานกลาง แต่ผู้ป่วยที่มีระดับของโรครุนแรงมักไม่ได้ผลเท่าที่ควร
วิธีการที่ 3 การผ่าตัด
การผ่าตัดสามารถทำได้หลายรูปแบบ การผ่าตัดจะได้ผลดีในครึ่งหนึ่งของผู้ป่วย แต่มันไม่ช่วยทำให้โรคนี้หายไปได้ ดังนั้นการผ่าตัดจึงเป็นเพียงการรักษาเสริม ที่ต้องใช้คู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ นั่นเอง
สรุป ใคร ๆ ก็นอนกรน จะรักษา ภาวะหยุดหายใจตอนหลับ ไปทำไม
เห็นไหมคะว่า แค่นอนกรน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตหลายด้าน โดยที่เราไม่รู้ตัว บางครั้ง การที่เราหรือคนรอบข้างเรา มีนิสัยเปลี่ยนไป อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อาจจะเป็นเพราะว่า ร่างกายของเขา ต้องทำงานหนักมาก และเกิดความเครียดตลอดเวลาที่หลับ ซึ่งหากไม่ไปรักษา มันก็จะสะสมอาการ ให้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุด ก็เป็นโรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และความดันสูงตามมา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นอนกรน…โรคอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เว็บไซต์ไทยรัฐ