เฮือกๆ คุณเคยเป็นไหมที่อยู่ๆก็สะดุ้งตื่น ลุกขึ้นมาหายใจแรงๆ ตอนกลางคืนเหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ ถ้าคุณเคย คุณต้องรีบไปปรึกษาแพทย์แล้วล่ะ เพราะนั่นเป็นสาเหตุหลักๆที่อาจจะทำให้คุณหยุดหายใจขณะที่นอนหลับ หรือที่เรียนกันว่าโรค OSA (Obstructive Sleep Apnea)
เนื้อหา
1. OSA (Obstructive Sleep Apnea) เกิดจาก อะไร
2. ลักษณะอาการที่บ่งบอกความเสี่ยงของ OSA
3. เช็คร่างกายก่อนทำ Sleep Lab
4. ขั้นตอนการทำ Sleep Lab
5. การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
6. บทสรุป
7. สถานที่ติดต่อ เบอร์โทร แผนที่โรงพยาบาล
OSA (Obstructive Sleep Apnea) เกิดจาก อะไร
แล้วเราจะรู้ได้ไงล่ะว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ สังเกตง่ายๆเลยคะ จาก “เสียงกรน” ตอนนอนของเรานั่นเอง เสียงกรน เกิดจาก การปิดกั้นของระบบทางเดินหายใจที่ยิ่งเพิ่มมากขึ้นจากการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อภายในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดเสียงกรนตามมา เพราะออกซิเจนไม่สามรถเข้าไปสู่ร่างกายได้เต็มที่ ส่งผลให้อากาศไม่ไปเลี้ยงสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย สองก็จะสั่งให้สะดุ้งตื่นและลุกขึ้นมาหลายใจแรงๆ เหมือนคนที่ขาดอากาศหายใจ และส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือถ้าใครเป็นขั้นร้ายแรงอาจจะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
ลักษณะอาการที่บ่งบอกความเสี่ยงของ OSA
ลักษณะอาการที่บ่งบอกว่าเรามีความเสี่ยง เช่น การนอนกรน,สะดุ้งตื่นมาหายใจแรงๆตอนกลางคืน,มีอาการง่วงนอนตอนกลางวัน ไม่มีสมาธิทำงาน เนื่องจากร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอตอนกลางคืน รวมถึงยังส่งผลทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดโรคต่างๆได้ง่าย เป็นต้น
เช็คร่างกายก่อนทำ Sleep Lab
คุณควรจะลองเช็คตัวเอง ขั้นแรกก่อนว่าคุณมีอาการเหล่านี้ไหม โดยการถามคนข้างๆว่าคุณนอนกรนหรือไม่ หรือถ้าคุณไม่มีคนข้างๆนอนด้วย คุณก็สามารถตั้งกล้องวีดีโอ หรือเครื่องบันทึกเสียงขณะหลับ เพื่อตรวจสอบว่าคุณนอนกรนหรือไม่ ถ้ามีคุณควร รีบไปปรึกษาแพทย์ในขั้นต่อไป
ขั้นตอนการทำ Sleep Lab
ทางแพทย์จะทำการตรวจร่างการคุณขณะที่นอนหลับอย่างละเอียด โดยใช้วิธี Sleep Lab โดยการให้คุณนอนโรงพยาบาล 1คืนเพื่อตรวจสอบการนอนตอนกลางคืนของคุณ ซึ่งวิธีการนี้จะตรวจ
ปริมาณออกซิเจนที่เข้าไปสู่ร่างกาย
ตรวจระบบการหายใจขณะที่นอนหลับ
ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง
ตรวจวัดคลื่นหัวใจขณะที่หลับ
ตรวจกล้ามเนื้อต่างๆ
การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab
ก่อนที่จะทำ Sleep Lab คุณก็ควรจะเตรียมตัวเองให้พร้อม ให้ร่างกายอยู่ในภาวะปกติที่สุด โดยการงดอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาที่จะได้กระตุ้นระบบปราสาท ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ รวมถึงงดออกกำลังการ หรือทำกิจกรรมที่หนักมากเกินไป เพื่อที่ค่าที่ได้จะได้ตรงและนำมาวิเคราะห์เพื่อรักษาได้อย่างถูกต้องที่สุด
บทสรุป
การนอนกรนไม่ใช่ปัญหาเล็กๆอีกต่อไป คุณควรจะเช็คร่างกายของคุณและถ้าพบว่านอนกรนก็ควรจะไปขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ได้โดยตรง เพื่อทำการรักษาและป้องกันไม่ให้ร้ายแรงจนถึงขั้นเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ แผนที่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถ พระราม 6 แขวง ทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทร : 02-201-1000
แผนที่โรงพยาบาลรามา
ขอขอบคุณที่มาจาก
โรงพยาบาลรามา