การนอนที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นกับจำนวนชั่วโมงที่นอนว่าคุณนอนนานแค่ไหน แต่ขึ้นกับว่าคุณนอนต่อเนื่องและหลับสนิทแค่ไหนมากกว่า โดยที่ในระหว่างคืนไม่มีอะไรมารบกวนการนอนของคุณ แล้วคุณคิดว่าคนที่นอนกรนจะเป็นคนที่หลับแบบมีประสิทธิภาพไหม?
เนื้อหา
1. การนอนกรน เกิดจาก
2. โรค OSA : Obstructive Sleep Apnea
3. ตรวจสอบร่างกายก่อนไปพบแพทย์
4. การเช็ควิธี Sleep Lab
5. การเตรียมตัวก่อนทำ sleep Lab
6. สถานที่ ที่รับปรึกษาและรักษาอาการ OSA
การนอนกรน เกิดจาก
การนอนกรน เกิดจากกล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้นจะมีการหย่อนตัวลงมามาก ซึ่งการหย่อนตัวของอวัยวะส่วนนี้จะมีผลให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่อหายใจผ่านเข้าไป ก็จะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวสั่นสะเทือน ทำให้เกิดเสียงดัง บางรายช่องทางเดินหายใจนี้อาจจะแคบจนตีบ ทำให้ออกซิจากไม่สามารถผ่านเข้าออกได้เลยขณะที่นอนหลับ ทำให้เกิดโรคที่ชื่อว่า ภาวะหยุดหายใจณะที่นอนหลับชนิดอุดกั้น Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA
โรค OSA : Obstructive Sleep Apnea
ลักษณะอาการของโรคนี้คือ จะนอนกรนเสียงดัง จนสะดุ้งตื่นเนื่องจาก ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปในร่างกายได้ สมองจะสั่งให้ร่างกายสะดุ้งตื่นเพื่อลุกมาหายใจแรงๆและมีอาการไอ นอนหลับไม่สนิทหลังสะดุ้งตื่น มีการพลิกตัวไปมา เพราะหายใจไม่สะดวก พอตื่นเช้ามาจะไม่สดชื่น คล้ายคนที่นอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทำให้ระหว่างวันมีอาการง่วงนอน ไม่มีสมาธิทำงาน หงุดหงิดกับคนรอบข้าง ความจำแย่ลงมีผลต่อการเรียนและการทำงาน รวมถึงสมรรถภาพทางร่างกายเสื่อมลง เกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น
ตรวจสอบร่างกายก่อนไปพบแพทย์
คุณจึงควรเช็คร่างกายในแต่ละคืนของเราว่าเรามีอาการเหล่านี้หรือไม่ โดยการตั้งกล้องดูการนอนว่ามีเสียงกรนไหม หรือพลิกตัวไปมา หายใจติดขัดหรือเปล่า ถ้าใน 1สัปดาห์มีอาการเหล่านี้เกิน 2-3ครั้งควรจะรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อเข้ารับการรักษา เพราะคุณมีความเสี่ยงของโรค OSA
การเช็ควิธี Sleep Lab
เมื่อคุณเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทางทีมแพทย์จะทำการตรวจเช็คร่างกายขณะหลับที่มีชื่อเรียกว่าการทำ Sleep Lab อีกหนึ่งครั้งว่าคุณมีอาการขั้นไหน โดยจะทำการติดเครื่องตรวจตามร่างกายของคุณขณะที่หลับ โดยเครื่องนี้จะทำการตรวจระบบกายหายใจขณะหลับ ตรวจคลื่นสมอง คลื่นหัวใจ และออกซิเจนที่ผ่านในร่างกายแต่ละคืน โดยละเอียด และนำผลที่ได้มาประเมินหาวิธีการรักษาตามอาการ
การเตรียมตัวก่อนทำ sleep Lab
การเตรียมตัวก่อนทำ Sleep Lab โดยการงดการออกกำลังกายหนักๆ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะไปกระตุ้นการนอนของเราให้ผิดปกติ ค่าที่ได้จะคลาดเคลื่อนผิดไปจากความเป็นจริง และเตรียมตัวไปนอนโรงพยาบาลอย่างน้อย 1คืนเพื่อเข้ารับการตรวจ
สถานที่ ที่รับปรึกษาและรักษาอาการ OSA
ทางศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเขียงใหม่ มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ค่อยให้คำแนะนำต่างๆและรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ หากใครมีปัญหาหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
110 /392 ถ.อินทวโรรส ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จ.เขียงใหม่ 50200
โทรศัพท์ 0-5393-6900
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่