สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่พบว่าลูกนอนกรน ต้องบอกเลยว่าอย่าชะล่าใจเด็ดขาด เพราะการนอนกรนของลูกอาจนำไปสู่ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ และก่อให้เกิดผลกระทบได้อีกมากมายเลยทีเดียว ดังนั้นมาเช็คกันดูหน่อยสิว่า ลูกนอนกรนแบบนี้ผิดปกติหรือไม่ และจะมีวิธีการดูแลรักษาอย่างไร ซึ่งมีข้อมูลดังนี้
เนื้อหา
- สังเกตอย่างไรดี ว่าการนอนกรนของลูก อันตรายไหม
- อาการนอนกรน พบในเด็กช่วงวัยไหนมากที่สุด
- ผลกระทบของการนอนกรน ต่อเด็ก
- ดูแลอย่างไร ให้ลูกห่างไกลจากการนอนกรน
- การรักษานอนกรนในเด็ก
สังเกตอย่างไรดี ว่าการนอนกรนของลูก อันตรายไหม
การสังเกตว่าลูกมีอาการนอนกรนที่ผิดปกติ และเป็นอันตรายหรือไม่ แนะนำให้สังเกตจากช่วงครึ่งคืนหลัง คือเวลาประมาณตี 2 – ตี 5 นั่นเอง เพราะเป็นช่วงที่ลูกนอนหลับสนิท จึงสังเกตการนอนกรนได้ง่ายที่สุด โดยต้องดูว่าลูกมีอาการอย่างไรบ้าง ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าอันตราย ก็คือ การนอนกรนเสียงดัง นอนกรนในทุกท่าไม่ว่าจะท่านอนหงาย ท่าตะแคงหรือท่านอนคว่ำ รวมถึงการกรนแบบขาดหายเป็นช่วงๆ นอกจากนี้ในเด็กบางคนก็อาจจะมีการเปลี่ยนท่านอน และผุดลุกผุดนั่งบ่อยด้วย โดยอาการทั้งหมดนี้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่จะมองข้ามไม่ได้เลยทีเดียว
อาการนอนกรน พบในเด็กช่วงวัยไหนมากที่สุด
สำหรับช่วงวัยของเด็กที่พบอาการนอนกรนได้มากที่สุด ก็คือช่วง 2-6 ขวบนั่นเอง เพราะเป็นช่วงที่ต่อมน้ำเหลืองในร่างกายของเด็กกำลังโต หากมีตัวกระตุ้นให้ต่อมน้ำเหลืองโตมากขึ้นไปอีก ก็จะทำให้หายใจนำเอาออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้ยากขึ้น เป็นผลให้เกิดอาการนอนกรนในที่สุด
ผลกระทบของการนอนกรน ต่อเด็ก
การนอนกรนของเด็กที่จัดอยู่ในระดับอันตราย มักจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและพัฒนาการโดยตรง เพราะเมื่อนอนกรนจะทำให้เกิดการอุดกลั้นของทางเดินหายใจที่รุนแรง เป็นผลให้ออกซิเจนไม่สามารถถูกลำเลียงไปเลี้ยงหัวใจและสมองได้อย่างเพียงพอ และเมื่อสมองได้รับออกซิเจนน้อย เซลล์สมองก็จะเสื่อมสภาพไปจนทำให้เด็กมีปัญหาสมาธิสั้น และพัฒนาการด้านต่างๆ ล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน ส่วนกรณีของหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานหนักด้วยการสูบฉีดออกซิเจนมากขึ้น จึงอาจทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว ซึ่งเป็นอันตรายมากทีเดียว
ดูแลอย่างไร ให้ลูกห่างไกลจากการนอนกรน
เพราะสาเหตุการนอนกรนของเด็กส่วนใหญ่จะเป็นเพราะ ต่อมน้ำเหลืองหรือต่อมทอนซิล ถูกกระตุ้นให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้ทางเดินหายใจตีบ ดังนั้นการดูแลให้ลูกน้อยห่างไกลจากอาการนอนกรนหรือการหยุดหายในขณะนอนหลับ จึงทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้ต่อมน้ำเหลืองมีขนาดใหญ่นั่นเอง เช่น การหลีกเลี่ยงลูกน้อยจากสิ่งก่อภูมิแพ้ การให้ลูกน้อยทานอาหารที่มีประโยชน์และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นหวัด การเจ็บป่วยไม่สบาย เป็นต้น
การรักษานอนกรนในเด็ก
การรักษาที่ได้ผลดีในเด็ก ก็คือการรักษาที่ต้นเหตุหรือสิ่งกระตุ้นนั่นเอง คือหากสาเหตุการนอนกรนมาจากที่ลูกเป็นภูมิแพ้ ก็ต้องรักษาลูกให้หายป่วยจากอาการภูมิแพ้ หากลูกมีน้ำหนักเกินคืออ้วนมาก ก็ต้องควบคุมน้ำหนักของลูกให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม พร้อมทั้งจัดท่านอนให้ดีที่สุด โดยแนะนำให้จัดให้ลูกนอนท่าตะแคงจะช่วยลดอาการนอนกรนได้ดีเป็นอย่างดี ส่วนในเด็กที่มีอาการรุนแรงต้องรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเด็ก หรือหากจำเป็นจริงๆ ก็จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
การนอนกรนในเด็ก ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เลย เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่อย่ามองข้ามการนอนกรนของลูกเลยเชียว ควรรีบมาสังเกตโดยด่วนว่าลูกนอนกรนผิดปกติหรือไม่ จะได้ทำการรักษาได้อย่างเร่งด่วนนั่นเอง
ขอบคุณที่มา
www.youtube.com/watch?v=FRqL-ilY25g
การค้นหาที่เกี่ยวข้องกับ ลูกนอนกรน รีบเช็คด่วน กรนแบบนี้อันตรายหรือไม่
ลูกนอนกรน pantip | ลูกนอนกรนหายใจแรง |
ลูกนอนกรน มีเสมหะ | ลูกนอนกรน หาหมอที่ไหนดี |
ลูก 1 ขวบ นอน กร น | ลูกใครนอนกรนบ้าง |
ลูกนอนกรน ภูมิแพ้ | ลูกนอนหายใจเสียงดัง |